:
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลกองควาย โทรศัพท์ 054-719-424 // วิสัยทัศน์ (VISION) "เป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาพดีถ้วนหน้า มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นหลักเศรษฐกิจพอเพียง"

ประวัติความเป็นมา

ประวัติเทศบาลตำบลกองควาย

          เทศบาลตำบลกองควาย  เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลกองควาย  อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลกองควายขึ้นเป็นเทศบาลตำบลกองควาย ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นเทศบาลตำบลกองควาย ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 จนถึงปัจจุบัน

        โดยเทศบาลตำบลกองควายอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน เป็นระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีจำนวนพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น ๒๒.๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๓,๗๕๐ ไร่ มีหมู่บ้านอยู่ในเขตรับผิดชอบจำนวน 12 หมู่บ้าน

ที่ตั้งและอาณาเขต

          เทศบาลตำบลกองควาย ได้รับการยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลกองควาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

เป็นเทศบาลตำบลกองควาย ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

           เทศบาลตำบลกองควายตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่  รวมทั้งสิ้น ๒๒.๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๓,๗๕๐ ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

 ทิศเหนือ           ติดกับตำบลดู่ใต้           อำเภอเมืองน่าน   จังหวัดน่าน

  ทิศใต้               ติดกับตำบลน้ำปั้ว         อำเภอเวียงสา      จังหวัดน่าน

  ทิศตะวันออก     ติดกับตำบลนาเหลือง     อำเภอเวียงสา      จังหวัดน่าน

  ทิศตะวันตก       ติดกับตำบลนาซาว        อำเภอเมืองน่าน   จังหวัดน่าน

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ขนาดพื้นที่  (ไร่)

เนื้อที่อันดับ

บ้านธงหลวง

1,890

3

บ้านดอนน้ำครก

190

10

บ้านนาผา

200

9

บ้านน้ำครกใหม่

500

7

บ้านน้ำครกเก่า

1,100

5

บ้านดอนเจริญ

1,200

4

บ้านผาสุกพัฒนา

2,750

2

บ้านพุฒิมาราม

1,300

6

บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา

2,950

1

๑๐

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์

500

7

๑๑

บ้านนาแห้ว

1,100

5

๑๒

บ้านนาผาใหม่

270

8

รวม

13,750 

 

ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

                  ตำบลกองควาย มีจำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อ-สกุล กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านธงหลวง

นายเกษม  สัพพัญญู (กำนัน)

บ้านดอนน้ำครก

นายอรรณพ  ศิริมาตย์

บ้านนาผา

นายประกิต  น้องการ

บ้านน้ำครกใหม่

นางสาวณภัทร์วรัญญ์ นนท์ธีระสถาพร

บ้านน้ำครกเก่า

นางสาวอรพรรณ  ริยะ

บ้านดอนเจริญ

นายสง่า  ถุงคำแสน

บ้านผาสุกพัฒนา

นายสุทัน  พรมมา

บ้านพุฒิมาราม

นายชิต  อินต๊ะจักร

บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา   

นายศิวกร  กุลณาวงศ์

๑๐

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์

นายสสิพงษ์  กลายเพท

๑๑

บ้านนาแห้ว

นายชำนาญ  มณีรัตน์

๑๒

บ้านนาผาใหม่ 

นายชัชชัย  อุปละ

2) ลักษณะภูมิประเทศ

เทศบาลตำบลกองควาย มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือแม่น้ำน่าน โดยไหลผ่านใจกลางพื้นที่ของตำบลกองควาย จึงทำให้หมู่บ้านของประชาชนแยกออกจากกันเป็นสองฝั่งน้ำ ดังนี้

ฝั่งน้ำด้านทิศตะวันออก   ได้แก่

๑. บ้านธงหลวง หมู่ที่ ๑

              ๒. บ้านดอนน้ำครก หมู่ที่ ๒

๓. บ้านน้ำครกเก่า หมู่ที่ ๕

๔. บ้านพุฒิมาราม หมู่ที่ ๘

               ๕. บ้านนาแห้ว หมู่ที่ ๑๑

ฝั่งน้ำด้านทิศตะวันตก  ได้แก่

 1. บ้านนาผา หมู่ที่ ๓

                ๒. บ้านน้ำครกใหม่ หมู่ที่ ๔

                ๓. บ้านดอนเจริญ หมู่ที่ ๖

                ๔. บ้านผาสุกพัฒนา หมู่ที่ ๗

                ๕. บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา หมู่ที่ ๙

                ๖. บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์ หมู่ที่ ๑๐

                ๗. บ้านนาผาใหม่ หมู่ที่ ๑๒

ส่วนการสัญจรไป-มา นั้นสะดวก รวดเร็ว เพราะมีสะพานข้ามแม่น้ำน่าน (สะพานกองควายประชาพัฒนา) เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน และบริเวณพื้นที่ราบลุ่มจะเป็นพื้นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและใช้ในการทำการเกษตร เช่น ปลูกข้าวพืชผัก  พืชไร่  และสวนผลไม้

3) ลักษณะภูมิอากาศ

มีลักษณะอากาศแบบ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยมีความแตกต่างของฤดูอย่างชัดเจน

ฤดูร้อน  ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน จะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 35 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน  ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ฝนจะตกหนักในช่วงเดือน สิงหาคม

      ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ ช่วงเดือน ธันวาคม จะมีอากาศหนาวจัด

ประมาณ 11 -20 องศาเซลเซียส

4) ลักษณะของดิน

ในพื้นที่ตำบลกองควาย  มีลักษณะดินดังนี้

กลุ่มชุดดินที่ 33  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย ดินมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง บางแห่งในดินล่างลึก ๆ มีจุดประสีเทาและน้ำตาล มีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลางมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางดินชั้นบนมี pH ประมาณ 5.5-8.0

- ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ต่างๆ  เช่น  ข้าวโพด ถั่วต่างๆ บางแห่งใช้ปลูกไม้ผลหรือที่อยู่อาศัย ดินกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์

กลุ่มชุดดินที่ 29B/35B,29C  เป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับไม้ผลยืนต้น เช่น ลำไย  ลิ้นจี่ มะม่วง มะขาม  พืชผักต่างๆ  แต่มีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย  ควรมีการบำรุงรักษาดิน โดยการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่ไปกับใช้พืชคลุมดิน

กลุ่มชุดดินที่  48C, 46D  เป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ดินบริเวณนี้

เป็นดินค่อนข้างตื้น  การจะใช้พื้นที่ทำการเพาะปลูก ควรมีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม

กลุ่มชุดดินที่ 29E,46E เป็นพื้นที่ ที่ไม่ค่อยเหมาะสำหรับไม้ผลไม้ยืนต้นต่างๆ  แต่จะเป็นต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

กลุ่มชุดดินที่  46C เป็นพื้นที่ ที่เหมาะสำหรับปลูกพืชต่างๆ  แม้ว่าเนื้อดินมีก้อนกรวดปะปนอยู่มาก ที่ดินบริเวณนี้เป็นดินค่อนข้างตื้น การจะใช้พื้นที่นี้ทำการเพาะปลูกควรมีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม

(2)  ด้านการเมือง/การปกครอง

1)  เขตการปกครอง

เทศบาลตำบลกองควาย มีจำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อ-สกุล)

ตำแหน่ง

บ้านธงหลวง

นายเกษม        สัพพัญญู

กำนัน

บ้านดอนน้ำครก

นายอรรณพ      ศิริมาตย์

ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านนาผา

นายประกิต       น้องการ

ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านน้ำครกใหม่

นางสาวณภัทร์วรัญญ์ นนท์ธีระสถาพร

ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านน้ำครกเก่า

นางสาวอรพรรณ ริยะ

ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านดอนเจริญ

นายสง่า            ถุงคำแสน

ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านผาสุกพัฒนา

นายสุทัน          พรมมา

ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านพุฒิมาราม

นายชิต            อินต๊ะจักร

ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา

นายศิวกร         กุลณาวงศ์

ผู้ใหญ่บ้าน

๑๐

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์

นายสสิพงษ์       กลายเพท

ผู้ใหญ่บ้าน

๑๑

บ้านนาแห้ว

นายชำนาญ       มณีรัตน์

ผู้ใหญ่บ้าน

๑๒

บ้านนาผาใหม่

นายชัชชัย         อุปละ

ผู้ใหญ่บ้าน

2)  การเลือกตั้ง

เทศบาลตำบลกองควาย แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล เป็น ๒ เขตเลือกตั้งได้แก่

เขตเลือกตั้งที่ ๑ ได้แก่

๑. บ้านธงหลวง     หมู่ที่ ๑

๒. บ้านดอนน้ำครก หมู่ที่ ๒

๓. บ้านนาผา         หมู่ที่ ๓

๔. บ้านผาสุกพัฒนา หมู่ที่ ๗

    ๕.  บ้านพุฒิมาราม  หมู่ที่ ๘

    6. บ้านนาผาใหม่    หมู่ที่ ๑๒

เขตเลือกตั้งที่ ๒ ได้แก่

1. บ้านน้ำครกใหม่ หมู่ที่ ๔

๒. บ้านน้ำครกเก่า  หมู่ที่ ๕

๓. บ้านดอนเจริญ   หมู่ที่ ๖

๔. บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา หมู่ที่ ๙

๕. บ้านนาแห้ว      หมู่ที่ ๑๑

๖. บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์ หมู่ที่ ๑๐ 

ฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย

แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน เลขานุการฯ จำนวน 1 คน และที่ปรึกษา จำนวน 1  คน

ลำดับที่

ชื่อ- สกุล

ตำแหน่ง

1

นายดุสิต   ยาใจ

นายกเทศมนตรีตำบลกองควาย

2

ร.ต.อ.ไชยเดช  โรงคำ

รองนายกเทศมนตรีตำบลกองควาย

3

นางสาวอารีรัตน์  รัตนศิลา

รองนายกเทศมนตรีตำบลกองควาย

4

นายสวัสดิ์   รุ่งจันทร์ทิพย์

ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลกองควาย

5

นางสาวชฏาพร   สมรักษ์

เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลกองควาย

ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาเทศบาล ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล เขตที่ 1 และเขตที่ 2 ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง จำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี                                                                      

ลำดับที่

ชื่อ- สกุล

ตำแหน่ง

1

นายทเวทย์   บุญตา

ประธานสภาเทศบาลตำบลกองควาย

2

นายประยูร   น้องการ

รองประธานสภาเทศบาลตำบลกองควาย

3

นายผล        สารทอง

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

4

นายชาญ      มูลละ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

5

นายเสถียร    ธงเงิน

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

6

นางสาวสุนิตย์  ยศพันโท

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

7

นายเกษม       ก้อนแก้ว

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

8

นางดาวเรือง    ปาเขียว

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

9

นายธงชัย       ปันวงศ์

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

10

นายนัฐพงศ์     ยาใจ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

11

นายภาณุภาค   เทนุรักษ์

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

12

นายเกียรติศักดิ์  ขันทะ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกองควาย

(๓)  ประชากร

    ประชากรในเขตเทศบาลตำบลกองควายส่วนใหญ่จะเป็นคนในท้องถิ่นซึ่งมีที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  นอกจากนั้นจะเป็นประชากรแฝงอยู่บางส่วน รวมทั้งเข้ามาอาศัยอยู่ โดยไม่มีการย้ายทะเบียนบ้าน

                     1)  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 3-5 ปี และคาดการณ์

      ในอนาคต)

จำนวนประชากรตำบลกองควายปัจจุบันและย้อนหลัง 3 ปี

ปี พ.ศ.

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

2562

2,600

2,738

5,338

2563

2,572

2,741

5,313

2564

2,529

2,742

5,271

จำนวนประชากรตำบลกองควายที่คาดการณ์ในอนาคต

ปี พ.ศ.

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

2565

2,509

2,738

5,247

สรุปการคาดการณ์ในอนาคต

ลดลง

ลดลง

ลดลง

             

2)  ช่วงอายุและจำนวนประชากร

      จำนวนประชากรตามช่วงอายุ  สำหรับประชากรตำบลกองควาย

จำนวนประชากร ตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ  (ปี)

จำนวน (คน)

อายุ  0 – 10   ปี

410

อายุ  11 – 20 ปี

480

อายุ  21 – 30 ปี

546

อายุ  31 – 40 ปี

478

อายุ  41 – 50 ปี

831

อายุ  51 – 60 ปี

1,080

อายุ  61  ปีขึ้นไป

1,446

รวม

5,271

                       ข้อมูลจาก   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกองควาย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนน้ำครก ณ เดือนพฤษภาคม  ๒๕64

                           จำนวนประชากรทั้งสิ้น จำนวน 5,271 คน แยกเป็นชาย 2,529 คน หญิง ๒,๗42 คน  มีครัวเรือนทั้งหมด ๑,988 ครัวเรือน

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชาย   (คน)

หญิง  (คน)

รวม   (คน)

จำนวนครัวเรือน  ( หลัง )

บ้านธงหลวง

358

386

744

232

บ้านดอนน้ำครก

186

235

421

170

บ้านนาผา

275

333

608

251

บ้านน้ำครกใหม่

242

251

493

203

บ้านน้ำครกเก่า

244

267

511

185

บ้านดอนเจริญ

265

286

552

186

บ้านผาสุกพัฒนา

186

182

368

164

บ้านพุฒิมาราม

149

151

300

117

บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา

154

154

308

133

๑๐

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์

186

219

405

132

๑๑

บ้านนาแห้ว

162

164

326

112

๑๒

บ้านนาผาใหม่

121

114

235

103

รวม

2,529

2,742

5,271

1,988

                    *ข้อมูลจาก   สำนักทะเบียนอำเภอเมืองน่าน ข้อมูลทะเบียนราษฎร   ณ เดือนพฤษภาคม  ๒๕64

(4)  สภาพทางสังคม

1)  การศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา                            จำนวน    แห่ง

- โรงเรียนบ้านน้ำครกใหม่                    

- โรงเรียนบ้านนาผา

- โรงเรียนบ้านธงหลวง 

โรงเรียนมัธยมศึกษา                              จำนวน    แห่ง

- โรงเรียนน่านประชาอุทิศ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                จำนวน    แห่ง

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านธงหลวง หมู่ที่ ๑

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาผา หมู่ที่ ๓

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำครกใหม่ หมู่ที่ ๔

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำครกเก่า หมู่ที่ ๕

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลกองควาย             จำนวน       แห่ง

2)  สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ                               จำนวน    แห่ง

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกองควาย

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  บ้านดอนน้ำครก

- อสม.                                                       จำนวน   158   คน

หน่วยกู้ชีพ กู้ภัย ทต.กองควาย                            จำนวน         แห่ง

                          สถิติโรคที่มักเกิดขึ้นในเขตเทศบาลตำบลกองควายแก่

                             -  โรคความดัน                        จำนวน  406    คน

                              -  โรคเบาหวาน                       จำนวน  211    คน                     

                             -  โรคโควิค                            จำนวน      4    คน

                        *ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกองควายและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  บ้านดอน-

น้ำครก    เดือนกันยายน  พ.ศ. 2564

โรคติดต่ออันตราย (ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  พ.ศ. ๒๕๕๘)

   เมื่อเดือนธันวาคม 2562  ได้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เมืองอู่ฮั่น  มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน  เชื่อว่าไวรัสนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีต้นกำเนิดจากสัตว์  ยังไม่ทราบต้นกำเนิดแท้จริง แต่ในเดือนธันวาคม 2562 การแพร่กระจายการติดเชื้อเกิดขึ้นแทบทั้งหมดจากคนสู่คน ยืนยันแล้ว 41 รายแรก  ซึ่งตีพิมพ์ในเดอะแลนซิตเมื่อเดือนมกราคม 2563  เปิดเผยว่าวันเริ่มต้นอาการวันแรกสุดได้แก่วันที่ 1 ธันวาคม 2562  สิ่งพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการจาก  WHO รายงานว่าอาการเริ่มต้นเร็วที่สุดคือวันที่ 8 ธันวาคม 2562  WHO และทางการจีนยืนยันการติดต่อจากคนสู่คนในวันที่ 20 มกราคม 2563  เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019  อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส โดยทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และแพร่ระบาดมายังประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยอีกหลายประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้  เขตการปกครองพิเศษ (ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า)  สหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น  มีแนวโน้มที่สูงขึ้น  และในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ทำให้ต้องยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 2 และยกเป็นระดับ 3  เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย  ได้ประกาศชื่อว่า  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))  เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  พ.ศ. ๒๕๕๘  ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้คนได้อย่างรวดเร็ว  มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย  หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ  ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว  และถึงขั้นเสียชีวิต  มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก  จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น โรคนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และกลายพันธ์ไปเรื่อย ๆ การแพร่กระจายของเชื้อรุนแรงขึ้นกว่าสายพันธ์เดิม

ในประเทศไทยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  สะสม  ๑๗๓,๗๔๒,๔๒๖  ราย  เสียชีวิต  ๓,๗๓๖,๙๗๔  ราย  ข้อมูล    วันที่     มิถุนายน  2564  ในประเทศไทย  ผู้ป่วยยืนยันสะสม  ๑๗๗,๔๖๗  เสียชีวิต  1,2๓๖  ราย  หายป่วยสะสม ๙๙,๐๙๑ ราย ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 256๔ (จากเว็บลิงค์ของกรมควบคุมโรค https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no520-060664.pdf)    แต่ละประเทศก็ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง  ป้องกัน  ควบคุม  รักษา เยียวยา  ฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งวิธีการคัดกรอง  ล๊อคดาวน์ประเทศ  เมือง  งดเที่ยวบิน  จำกัดเที่ยวบิน  การกักตัว  การปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงสถานที่ที่เกิดโรค  การใช้ชีวิตแบบใหม่ สวมใส่หน้ากากเมื่อออกดจากเคหะสถาน  ที่พัก  เว้นระยะห่างทางสังคม  หมั่นทำความสาอดมือ  หลีกเลี่ยงการไปยังพื้นที่เสี่ยง  ออกกฎหมายควบคุมผู้ที่ฝ่าฝืน  ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน  ประกอบกับมีสถาบัน บริษัท  ประเทศต่างๆ ได้ผลิตวัคซีนเพื่อฉีดให้กับประชาชนในการป้องกันโรคนี้และได้กระจายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ  ขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอ  การแพร่ระบาดยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ  และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดการระบาดเมื่อไหร่ 

                       สำหรับในพื้นที่ตำบลกองควาย  พบผู้ที่ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019   จำนวน  4  ราย  ได้รับการรักษาหายแล้ว  เทศบาลตำบลกองควาย  ร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน  หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง  ป้องกัน  และควบคุมโรคอย่างเต็มที่ 

    เทศบาลตำบลกองควาย  มีศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย   ที่คอยช่วยเหลือ ประชาชน  เมื่อได้รับความเดือดร้อน เช่น ไฟไหม้ หรือขาดแคลนน้ำ  นอกจากนี้ ยังมีศูนย์กู้ชีพกู้ภัยตำบลกองควาย  ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเจ็บป่วยฉุกเฉินตำบลกองควาย  มีเจ้าหน้าที่ กู้ชีพ กู้ภัยตลอด  24 ชั่วโมง  เมื่อเกิดเหตุสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ทันที

๓)  อาชญากรรม

       ในเทศบาลตำบลกองควาย ข้อมูลสถิติคดีอาญา สถิติคดีจราจร และสถิติคดียาเสพติด     ในเขตตำบลกองควาย ดังนี้

รายงานสถิติคดี ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งแต่ 1 มกราคม - 14 กันยายน ๒๕64

 

เดือน

คดี

 

หมายเหตุ

อาญา

จราจร

ยาเสพติด

มกราคม

-

-

-

 

กุมภาพันธ์

ลักทรัพย์ 1

-

มียาบ้า ๑, เสพยาบ้า ๑

 

มีนาคม

 

-

 

 

เมษายน

-

-

มียาบ้า ๒, เสพยาบ้า ๕

 

พฤษภาคม

-

-

มียาบ้า ๑

 

มิถุนายน

-

-

-

 

กรกฎาคม

-

-

มีกัญชา ๑,มียาบ้า ๑, เสพยาบ้า ๓

 

สิงหาคม

-

-

มีกัญชา ๑, มียาบ้า ๑, เสพยาบ้า ๒

 

รวม

-

๑๙

 

*ข้อมูลจาก กลุ่มงานสอบสวน ภ.จว.น่าน เมื่อ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔

                         ส่วนการทะเลาะวิวาท   ซึ่งทางเทศบาลก็ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว  และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ  ผู้นำ อปพร.  เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง 

๔)  ยาเสพติด      

รายงานสถิติคดี ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งแต่ 1 มกราคม - 14 กันยายน ๒๕64 

เดือน

คดียาเสพติด

มกราคม

-

กุมภาพันธ์

มียาบ้า ๑, เสพยาบ้า ๑

มีนาคม

-

เมษายน

มียาบ้า ๒, เสพยาบ้า ๕

พฤษภาคม

มียาบ้า ๑

มิถุนายน

-

กรกฎาคม

มีกัญชา ๑,มียาบ้า ๑, เสพยาบ้า ๓

สิงหาคม

มีกัญชา ๑, มียาบ้า ๑, เสพยาบ้า ๒

รวม

๑๙

                *ข้อมูลจาก กลุ่มงานสอบสวน ภ.จว.น่าน ณ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔

ปัญหายาเสพติดในเทศบาลตำบลกองควาย  ในปัจจุบันมีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว  โดยขอความร่วมมือกับทางผู้นำ  ประชาชน  ช่วยสอดส่องดูแล   แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับยาเสพติด  สำหรับเทศบาลตำบลกองควาย จะเน้นการป้องกัน  บำบัดรักษา ให้การรณรงค์  ประชาสัมพันธ์  ฝึกอบรมให้ความรู้  และการส่งตัวเข้ารับการบำบัดรักษาตามความสมัครใจ

5)  การสังคมสงเคราะห์

ประเภท

สนับสนุนให้ความช่วยเหลือ (คน)

สงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์

10

สงเคราะห์คนพิการ

246

สงเคราะห์ผู้สูงอายุ

1,394

ผู้ประสบภัยธรรมชาติ

19

ผู้ประสบอุบัติภัย

27 (ครั้ง)

              *ข้อมูลการบริการด้านสังคมสงเคราะห์ (สำนักปลัด) ณ  เดือน กันยายน 2564

เทศบาลตำบลกองควายได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้

(๑)  ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 

(๒)  รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

(๓)  ประสานการทำบัตรผู้พิการ

(4)  ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป

(5)  ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน

(5)  การบริการพื้นฐาน

1)  การคมนาคมขนส่ง

       ถนนทางหลวงหมายเลข  010 สายแพร่-น่าน

       รถโดยสารประจำทาง สายจังหวัดน่านจังหวัดแพร่ฯ

 ถนนส่วนใหญ่ จะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนลาดยาง และถนนดินลูกรัง ซึ่งการคมนาคมค่อนข้างจะสะดวก แต่ก็ยังมีถนนลูกรังอีกหลายสายที่จะต้องพัฒนาให้เป็นถนนที่ได้มาตรฐานเพื่อทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ถนนลูกรัง

(สาย)

ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก

(สาย)

ถนนลาดยาง

(สาย)

บ้านธงหลวง

2

19

-

บ้านดอนน้ำครก

2

16

-

บ้านนาผา

1

14

1

บ้านน้ำครกใหม่

1

9

1

บ้านน้ำครกเก่า

4

21

-

บ้านดอนเจริญ

-

13

1

บ้านผาสุกพัฒนา

2

12

-

บ้านพุฒิมาราม

1

13

-

บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา

1

15

1

๑๐

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์

1

10

1

๑๑

บ้านนาแห้ว

2

8

-

๑๒

บ้านนาผาใหม่

-

12

1

รวม

17

162

6

*ข้อมูลจากกองช่าง ณ  เดือน กันยายน 2564

2)  การไฟฟ้า

 มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน  แต่ยังไม่ทั่วถึงทุกหลังคาเรือน  เนื่องจากบางหลังคาเรือน

ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลจากชุมชนมาก  ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องขยายเขตไฟฟ้าไปยังผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนต่อไป รวมถึงพื้นที่การเกษตร ส่วนใหญ่ไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับความสะดวกในการทำการเกษตร

3)  การประปา

 ตำบลกองควาย มีประปาหมู่บ้าน  จำนวน  11  หมู่บ้าน 

ลำดับที่

แหล่งน้ำดิบสำหรับใช้ผลิตประปา (ชื่อ)

ประชาชนได้รับประโยชน์

จำนวนครัวเรือน

จำนวนคน

1

ประปาหมู่บ้านธงหลวง  หมู่ที่  1

232

744

2

ประปาหมู่บ้านดอนน้ำครก  หมู่ที่ 2

170

421

3

ประปาหมู่บ้านนาผา  หมู่ที่ 3

251

608

4

ประปาหมู่บ้านน้ำครกใหม่  หมู่ที่ 4

203

493

5

ประปาหมู่บ้านน้ำครกเก่า  หมู่ที่ 5

185

511

6

ประปาหมู่บ้านดอนเจริญ  หมู่ที่ 6

186

552

7

ประปาหมู่บ้านผาสุกพัฒนา  หมู่ที่ 7

164

368

8

ประปาหมู่บ้านพุฒิมาราม  หมู่ที่ 8

117

300

9

ประปาหมู่บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา  หมู่ที่ 9

133

308

10

ประปาหมู่บ้านนาแห้ว  หมู่ที่ 11

112

326

11

ประปาหมู่บ้านนาผาใหม่  หมู่ที่ 12

103

235

รวม

1,856

4,866

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

*ข้อมูลจากกองช่าง ณ  เดือน กันยายน 2564

4)  โทรศัพท์

  - เสารับสัญญาณโทรศัพท์   จำนวน    จุด        

                    5)  ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง

                             ในพื้นที่ตำบลกองควายมีถนนในเขตรับผิดชอบเทศบาลตำบลกองควาย จำนวน 185 สายทาง  และมีเส้นทางที่รถประจำทางวิ่งผ่านโดยวิ่งจากสถานีขนส่งจังหวัดน่าน  ไปถึง กทม.  และจังหวัดต่างๆ  อีกมากมาย  ตลอดจนสามารถเดินทางไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้  อาทิ  ประเทศลาว ฯลฯ

(6)  สภาพเศรษฐกิจ

 1)  การเกษตร

               พื้นที่ทำการเกษตร            จำนวน  7,839.95  ไร่   แยกเป็น

- พื้นที่ทำนา                    จำนวน    4,852.05  ไร่

- พื้นที่ทำสวน                  จำนวน    1,813.52  ไร่

- พืชที่ปลูกพืชไร่               จำนวน    1,008.60  ไร่

พืชที่การเกษตรอื่นๆ         จำนวน       165.78 ไร่

ตำบลกองควาย มีการปลูกผัก โดยเฉพาะ หมู่ที่ 4,6,9,10,11  จำนวนเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูก 184  ครัวเรือน  พืชผักที่ปลูก ได้แก่ พริกใหญ่ พริกขี้หนูใหญ่ มะเขือยาว บวบ ฯลฯ  เกษตรกรจะเริ่มทำการเพาะปลูกตั้งแต่เดือน กันยายน จนถึงเดือนพฤษภาคม ทุกปี การซื้อขายพืชผักจะมีพ่อค้าท้องถิ่นรวมรวมส่งตลาดในอำเภอ จังหวัด ส่งออกต่างจังหวัด เช่น ตลาดไท  ตลาดสี่มุมเมือง องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ตลาดจังหวัดพิษณุโลก และตลาดโคราช    และการปลูกลำไย พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 1,818  ไร่  จำนวนเกษตรกร 277 ราย พันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่ เป็นพันธุ์ อีดอ เกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกลำไยเพิ่มขึ้น จะมีพ่อค้ามาติดต่อซื้อแบบเหมาสวนและเกษตรกรเก็บไปจำหน่ายเองทั้งจำหน่ายบริโภคผลสดและจำหน่ายเพื่ออบแห้ง

ตำบลกองควาย มีครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 1,244 ครัวเรือน โดยมีหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร อายุระหว่าง 56 - 65 ปี มากที่สุด จำนวน 484 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 38.91 รองลงมาอายุระหว่าง 65 ปีขึ้นไป จำนวน 418 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 33.60 อายุ46 - 55 ปี จำนวน 270 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 21.70 อายุ 36-45 ปี จำนวน 59 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 4.74 และอายุระหว่าง 26 - 35 ปี จำนวน 13 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 1.05 ตามลำดับ

                   แสดงหัวหน้าครัวเรือนจำแนกตามอายุ ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ช่วงอายุ (ปี)

ครัวเรือน

ร้อยละ

65 ปีขึ้นไป

418.00

33.60

56 - 65 ปี

484.00

38.91

46 - 55 ปี

270.00

21.70

36 - 45 ปี

59.00

4.74

26 - 35 ปี

13.00

1.05

รวม

1,244.00

100.00

*ข้อมูลจากสำนักทะเบียนเกษตรกรอำเภอเมืองน่าน    เดือน กันยายน 2564

 พื้นที่ตำบลกองควาย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่  ทำนาปี  รองลงมา  คือ ทำสวนลำไย และทำนาปรัง  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถจำแนกเป็นรายหมู่บ้านได้  คือ ทำสวนข้าวโพด  เลี้ยงสัตว์   ยางพารา  มันสำปะหลัง  ตามลำดับ

ชนิดพืช

 

ข้าว

ลำไย (ไร่)

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ไร่)

ยางพารา (ไร่)

มันสำปะหลัง (ไร่)

หมู่บ้าน

นาปี (ไร่)

นาปรัง (ไร่)

บ้านธงหลวง

631.44

472

27.45

32.48

-

-

บ้านดอนน้ำครก

415.57

113.75

65.38

24.98

1.25

-

บ้านนาผา

60.73

16.98

139.63

18.54

9.25

-

บ้านน้ำครกใหม่

88.65

49

28.34

-

3.5

-

บ้านน้ำครกเก่า

390.37

96.52

69.96

18.95

18.45

-

บ้านดอนเจริญ

199.47

25.72

321.67

76.82

4.32

-

บ้านผาสุกพัฒนา

618.08

30.06

621.32

573.61

49.68

42.33

บ้านพุฒิมาราม

349.48

201.71

47.87

31.37

39.67

-

บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา

580.90

89.84

371.19

47.53

33.50

4

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์

-

-

52.63

95.44

-

-

บ้านนาแห้ว

279.54

73.11

38.24

42.55

6.16

-

บ้านนาผาใหม่

63.34

5.79

29.84

-

-

-

รวม

3,677.57

1,174.48

1,813.52

962.27

165.78

46.33

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

*ข้อมูลจากสำนักทะเบียนเกษตรกรอำเภอเมืองน่าน    เดือน กันยายน 2564

2)  การประมง

                         ในอดีตชุมชนตำบลกองควาย อาศัยอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำน่าน   ปัจจุบันสัตย์น้ำลดน้อยลง  เกษตรกรบางรายจึงทำการเลี้ยงปลาในสระเก็บน้ำในไร่นาที่มีอยู่และบ่อซีเมนต์  เลี้ยงเพื่อบริโภคและจำหน่าย

3)  การปศุสัตว์

มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม ได้แก่ ไก่ เป็ด สุกร และโค

4)  การบริการ

- ปั๊มน้ำมันหลอด                                   จำนวน      7   แห่ง

- ร้านขายของขนาดเล็ก                           จำนวน     33  แห่ง

- บ่อทราย                                          จำนวน        2  แห่ง

- บ้านเช่า                                           จำนวน       5  แห่ง

- อู่ซ่อมรถ                                          จำนวน     10  แห่ง

- กิจการเสริมสวย                                  จำนวน       5  ร้าน

- ร้านรับซื้อของเก่า                                จำนวน       8    ร้าน

- โรงงานผลิตน้ำแข็ง                               จำนวน       1    แห่ง

- ร้านขายกระเบื้องขนาดใหญ่                    จำนวน        1    แห่ง

- ร้านขายต้นไม้ดอก ไม้ประดับ  ไม้ผล            จำนวน        1    แห่ง

- ร้านประกอบธุรกิจยานยนต์                       จำนวน        2    แห่ง

                           *ข้อมูลจากกองคลัง    เดือน กันยายน 2564

5) การท่องเที่ยว

       สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ ๆ ดังนี้

     - วัด    จำนวน     แห่ง

     - วัดธงหลวง   หมู่ที่ ๑

     - วัดบ้านนาผา หมู่ที่ ๓

      - วัดน้ำครกใหม่  หมู่ที่ ๔

      - วัดน้ำครกเก่า  หมู่ที่ ๕     

      - วัดพุฒิมาราม  หมู่ที่ ๘

      - สำนักสงฆ์   จำนวน     แห่ง

         - สำนักสงฆ์ดอยภูซาง

6)  อุตสาหกรรม

     พื้นที่ตำบลกองควายเป็นตำบลที่ไม่มีอุตสาหกรรมขนาดเล็ก  ขนาดกลาง  หรือขนาดใหญ่ในพื้นที่ 

7) การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

    การพาณิชย์

    - ที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว  1  แห่ง (บ้านน้ำครกใหม่พัฒนา)

 - ตลาดสด  1  แห่ง

 - อู่ซ่อมรถ   10  แห่ง

 - โรงน้ำแข็ง  1  แห่ง

                       *ข้อมูลจากกองคลัง    เดือน กันยายน 2564

                     โดยส่วนใหญ่ประชากรในเขตเทศบาลตำบลกองควายประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 80   ซึ่งเป็นอาชีพหลัก รองลงมาอาชีพรับจ้าง ข้าราชการและค้าขาย   มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพกลุ่มสตรี  กลุ่มแม่บ้าน  กลุ่มจักสาน กลุ่มปักผ้า กลุ่มเย็บผ้าพื้นเมือง กลุ่มเพาะเห็ด  กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มกองทุนต่างๆ และกลุ่มที่มีชื่อเสียงของตำบล ได้แก่ กลุ่มเย็บผ้าพื้นเมือง กลุ่มปักผ้า เป็นต้น

กลุ่มอาชีพ

                จากการจัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านและสอบถามตัวแทนกลุ่มอาชีพในชุมชน ทำให้ได้ข้อมูลกลุ่มต่างๆ ในตำบลกองควาย ดังนี้ กลุ่มปักผ้า  กลุ่มเย็บผ้าพื้นเมือง กลุ่มจักสาน  ฯลฯ ในจำนวนดังกล่าวมีกลุ่มที่น่าสนใจ เช่น กลุ่มเย็บผ้าพื้นเมือง

 ตารางกลุ่มอาชีพในตำบลกองควาย 

กลุ่ม

ที่ตั้ง

(หมู่ที่)

จำนวนสมาชิก (ราย)

กิจกรรม

1. กลุ่มแปรรูปผลผลิตทาง

    การเกษตร  (ผักสูบ)

หมู่ที่ 3 ,4,6,12

 

20

แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

2. กลุ่มเลี้ยงโค

หมู่ที่ 1-12

60

เลี้ยงโคเพื่อจำหน่าย

3. กลุ่มเลี้ยงสุกร

หมู่ที่ 1-12

64

เลี้ยงสุกรเพื่อจำหน่าย

4. กลุ่มปักผ้า

หมู่ที่ 7

10

ปักผ้าเพื่อจำหน่าย

5. กลุ่มเย็บผ้าพื้นเมือง

หมู่ที่4,6,7

15

เย็บผ้าพื้นเมืองเพื่อจำหน่าย

6. กลุ่มจักสาน

หมู่ที่6,10

15

จักสานไม้ไผ่เพื่อจำหน่าย

7. กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง

หมู่ที่ 3

10

ทอผ้าพื้นเมือง ,ผ้าซิ่น

8)  แรงงาน

   จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  สภาพแรงงานและการจ้างงาน  มีดังนี้

   (๑)  คนอายุ  20-60  ปี ประกอบอาชีพและมีรายได้    2,935  คน 

   (๒)  ครัวเรือนที่มีคนประกอบอาชีพรับจ้าง                1,244  ครัวเรือน

   (๓)  ค่าจ้างทั่วไปวันละ                                          300  บาท

(7)  ศาสนา  ประเพณี  วัฒนธรรม

1)  การนับถือศาสนา

 การนับถือศาสนาในตำบลกองควาย  ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

     - วัด จำนวน    แห่ง

     - วัดธงหลวง     หมู่ที่ ๑

     - วัดบ้านนาผา   หมู่ที่ ๓

     - วัดน้ำครกใหม่ หมู่ที่ ๔

     - วัดน้ำครกเก่า  หมู่ที่ ๕

     - วัดพุฒิมาราม หมู่ที่ ๘

     - สำนักสงฆ์  จำนวน    แห่ง

     - สำนักสงฆ์ดอยภูซาง

 2)  ประเพณีและงานประจำปี

  ตำบลกองควายมีการสืบสานประเพณีท้องถิ่น  อาทิ

  1.ประเพณีสงกรานต์

     ประเพณีสงกรานต์จัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปีในวัดของตำบลกองควาย ประกอบด้วย               

     - วัดธงหลวง      หมู่ที่ ๑

     - วัดบ้านนาผา   หมู่ที่ ๓

     - วัดน้ำครกใหม่ หมู่ที่ ๔

     - วัดน้ำครกเก่า  หมู่ที่ ๕

     - วัดพุฒิมาราม หมู่ที่ ๘

โดยจะมีการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งมีการสงฆ์น้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ สาดน้ำเล่นน้ำกันของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

2. ประเพณีลอยกระทง

  ประเพณีลอยกระทงจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีในวัดของตำบลกองควาย

โดยจะมีการจัดกิจกรรม เช่น การลอยกระทง การประกวดกระทง

3. ประเพณีแห่ครัวตานเข้าวัดและจุดบั้งไฟ

    ประเพณีแห่ครัวตานเข้าวัดและจุดบั้งไฟจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี  ในวัดของตำบลกองควาย ประกอบด้วยวัดน้ำครกเก่า  หมู่ที่ 5  โดยจะมีการแห่ครัวตาน (คือการนำข้าวสาร  อาหารแห้ง ของใช้  เงิน) ของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง  เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ และนำบั้งไฟ  ไปจุดในวัดเพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงปี๋ใหม่เมือง 

4. ประเพณีแห่พระเจ้าหนักรอบหมู่บ้าน

    ประเพณีแห่พระเจ้าหนักรอบหมู่บ้านจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี  ในวัดของตำบลกองควาย จัดเฉพาะวัดบ้านธงหลวง  หมู่ที่ 1  เท่านั้น โดยจะมีการจัดกิจกรรมของคนภายในหมู่บ้านเพื่อนำพระพุทธรูป (ชื่อว่า  พระเจ้าหนัก)  แห่ไปรอบๆ  หมู่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลของผู้คนภายในหมู่บ้าน

5. ประเพณีขึ้นพระธาตุเจ็ดเป็งพระเจดีย์พระพุทธรัชมงคลเจดีย์ศรีธรรมราชา

    ประเพณีขึ้นพระธาตุเจ็ดเป็งพระเจดีย์พระพุทธรัชมงคลเจดีย์ศรีธรรมราชาจัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี  ในวัดของตำบลกองควาย  จัดทำเฉพาะวัดบ้านน้ำครกใหม่  หมู่ที่ 4  โดยจะมีการจัดเครื่องบวงสรวง  และมีการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งมีการสงฆ์น้ำพระธาตุ

3)  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น

 เทศบาลตำบลกองควาย  ได้ดำเนินการจัดทำภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยการลงพื้นที่สำรวจ สอบถามผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่  ปราชญ์ชาวบ้าน  และประชาชนทั่วไป

- ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง

1.ตีกลองปู่จา

2.เพลงซอ

- ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม

1.ช่างสร้างบ้านแบบล้านนา

2.ไซดักปลา

3.สุ่มจับปลา

4.เย็บแห

5.ตะกร้าไม้ไผ่

6.ดนตรีไทยพื้นเมือง  โดยใช้วัสดุท้องถิ่นมาประกอบเป็นเครื่องดนตรี ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เช่น กะลามะพร้าว ใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน (สะล้อ) ไม้สัก – ไม้ประดู่ใช้ทำซึง

7.การบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคล และขวัญกำลังใจ

- ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติ

1.เผาถ่าน

2.หมอนวด

3.น้ำปู (การแปรรูปอาหาร)

4.ผักสูบ  (การแปรรูปอาหาร)

4)  OTOP  สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                            ในตำบลกองควาย  ไม่มีสินค้า  OTOP  แต่มีสินค้าที่ทำขึ้นเพื่อบริโภค ขาย และเป็นของฝาก ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้า  เช่น  กระเป๋า, เสื้อผ้าพื้นเมือง, ผ้าซิ่น ฯลฯ

(8)  ทรัพยากรธรรมชาติ

1)  น้ำ

- แม่น้ำน่าน จำนวน  1  สาย  ไหลผ่าน  บ้านนาผา  หมู่ที่ 3, บ้านดอนเจริญ  หมู่ที่ 6,

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์  หมู่ที่  10, บ้านนาผาใหม่  หมู่ที่ 12

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อแหล่งน้ำ

ปริมาตรน้ำ (ลบ.ม.)

วันที่สำรวจ

1

บ้านนาผา

หนองน้ำครก

51,000

2

บ้านน้ำครกใหม่

หนองน้ำครก

64,200

3

บ้านน้ำครกเก่า

หนองตะเคียน

44,800

4

บ้านดอนเจริญ

นองห้วยฆาต

39,400

5

บ้านผาสุกพัฒนา

หนองน้ำจำดีหมี

640

6

บ้านน้ำครกใหม่เกาะสวรรค์

หนองน้ำครก

38,900

7

บ้านนาแห้ว

หนองน้ำห้วยฮ้อม

18,000

   *ข้อมูลจากกองช่าง    เดือนกันยายน  2564

2)  ป่าไม้

 ป่าตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมายหมายความว่า ที่ดิน รวมตลอดถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลที่ยังมิได้มีบุคลได้มาตามกฎหมาย 

       ป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ หมายความว่า ป่าที่กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้   

       ไม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ หมายความว่า ไม้ทุกชนิดทั้งที่เป็นต้น กอ หรือเถา ไม่ว่ายังยืนต้นหรือล้มลงแล้ว และหมายความรวมตลอดถึง ราก ปุ่ม ตอ หน่อ กิ่ง ตา หัว เหง้า เศษ ปลาย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของไม้ ไม่ว่าจะถูกตัด ฟัน เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด หรือกระทำโดยวิธีการอื่นใด

       ของป่าตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ หมายความว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า เป็นต้นว่า

                 (๑)  ไม้ฟืน ถ่าน เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ผลไม้ หน่อไม้ ชันไม้ และยางไม้

       (๒)  หญ้า อ้อ พง แขม ปรือ คา กก กระจูด กล้วยไม้ กูด เห็ดและพืชอื่น

       (๓)  ซากสัตว์ ไข่ หนัง เขา นอ งา กราม ขนาย กระดูก ขน รังนก ครั่ง รังผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว

      (๔)  ดิน  หิน  กรวด ทราย แร่และน้ำมัน

      สัตว์เลี้ยงตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ หมายความว่า ช้าง ม้า ลา ล่อ โค กระบือ แพระ แกะ และสุกร ที่มีเจ้าของ

       ทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ หมายความว่า ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด หรือชักลากไม้ ที่มีอยู่ในป่า หรือนำไม้ที่มีอยู่ในป่าออกจากป่าด้วยประการใดๆ

                    สำหรับพื้นที่ป่าไม้ในตำบลกองควาย  มีพื้นที่ดังนี้

 - พื้นที่ป่าไม้ในตำบลกองควาย  มีจำนวน  1,584 ไร่

 - ป่าชุมชนในตำบลกองควาย  มีจำนวน  1   แห่ง    

3)  ภูเขา

      - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มีพื้นที่เป็นภูเขาบางหมู่บ้าน อาทิบ้านผาสุกพัฒนา หมู่ที่ 7

4)  ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                          - ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ  ในพื้นที่ตำบลกองควายยังคงอยู่ทั้งแหล่งน้ำ  ป่าไม้  ภูเขา สภาพแวดล้อม   และส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูกเป็นที่นา  ไร่  สวน  ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า  สถานประกอบการ ตามลำดับ  แต่ก็ยังมีพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน  ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ  ก็ได้แก่  พื้นที่ที่มีดินที่สามารถเพราะปลูกได้  ต้นไม้  น้ำที่ได้จากน้ำฝนตามธรรมชาติที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน  สระน้ำสาธารณะ  หนอง  อากาศที่ไม่มีมลพิษ  และสำหรับบางหมู่บ้านมีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น  เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน  เอกชน  โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของสาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ      

(9)  อื่นๆ  (ถ้ามีระบุด้วย)

บทบาท/การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการทางการเมืองและการพัฒนาตำบลกองควาย

ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกองควาย  ทั้ง 12  หมู่ที่ ได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาล  ให้การช่วยเหลืองานของเทศบาล เช่น

- กรณีประชาชนในพื้นที่ประสบภัย (อุทกภัย) จิตอาสา หรือประชาชนในพื้นที่ก็จะมาช่วยในการจัดทำถุงยังชีพ  บริจาคสิ่งของเป็นประจำ

- ประชาชนมีการร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมแก้ปัญหา   ในกิจกรรมของเทศบาลในการดำเนินงานต่างๆ  เช่น  การประชุมประชาคมท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  เพื่อให้ตำบลกองควายพัฒนายิ่งขึ้นไป

               - ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพในเทศบาลตำบลกองควาย

ฝ่ายข้าราชการประจำ แบ่งออกเป็น ๑ สำนัก ๓ กอง   จำนวนทั้งสิ้น  ๒3   คน

ปลัดเทศบาลตำบลกองควาย       จำนวน                    คน     

สำนักปลัดเทศบาล                  จำนวน            7        คน     

กองคลัง                               จำนวน                    คน

กองช่าง                               จำนวน                    คน

กองการศึกษา                        จำนวน            7        คน

ลูกจ้างประจำ                        จำนวนทั้งสิ้น     2        คน

พนักงานจ้าง                          จำนวนทั้งสิ้น   ๑5        คน

รวมบุคลากร เทศบาลตำบลกองควาย  จำนวนทั้งสิ้น  40 คน

- ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของชุมชน (เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น)

1. สมาชิกในชุมชนมีความชำนาญในการผลิตข้าวและพืชผัก

2. ผลิตปุ๋ยหมัก  น้ำหมักจากหอยเชอรี่ น้ำหมักจากพืชผักผลไม้ ใช้ในการเพิ่มผลผลิตการเกษตรและเป็นการกำจัดหอยเชอรี่  ซึ่งเป็นศัตรูทำลายต้นข้าว

3. การผลิตเครื่องจักสานและหัตถกรรมจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น การจักสานจากไม้ไผ่ ได้แก่  หมวก เครื่องใช้ในครัวเรือนจากไม้ไผ่ เครื่องมือหาปลา ฯลฯ